ไมโครโฟนไดนามิก และ ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ ต่างกันอย่างไร แต่ละอันใช้อย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไรบ้าง และควรใช้กับงานประเภทไหน สำหรับคนที่ต้องการซื้อไมโครโฟนไปใช้งาน แต่ก็ยัง งง กับ ความหมาย บทความนี้มีคำตอบ เรามาอ่านกันครับ
1.แหล่งกำเนิดเสียง 2. แผ่นกะบังลม 3. ขดลวด 4. แม่เหล็ก 5. สัญญาณเสียงขาออก
ไมโครโฟนไดนามิก (หรือที่เรียกว่าไมโครโฟนแบบขดลวดเคลื่อนที่) ทำงานผ่านการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า มีความทนทาน ราคาไม่แพง และทนต่อความชื้น และรับเสียงรอบข้างได้ไม่ค่อยดี ทำให้เวลาใช้งาน ตัวไมค์จะทำหน้าที่รับเสียงจากแหล่งที่อยู่ใกล้ไมค์ที่สุดนั่นเอง ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานบนเวที สถานที่ภายนอก ห้องเรียน ห้องประชุม และใช้งานรับเสียงกลอง และ เสียงกระเดื่อง
ไมโครโฟนไดนามิก (Dynamic microphone) ใช้หลักการไดนามิกแบบเดียวกับในลำโพง โดยจะกลับด้านเท่านั้น ขดลวดเหนี่ยวนำเคลื่อนที่ขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในสนามแม่เหล็ก ของแม่เหล็กถาวร ที่ติดอยู่กับตัวกะบังลม เมื่อเสียงเข้ามาทางกระจกบังลมของไมโครโฟน คลื่นเสียงจะเคลื่อนผ่านกระบังลม เมื่อกะบังลมสั่นสะเทือน ขดลวดจะเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดกระแสผันแปรในขดลวด ผ่านการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า
ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ คือ อะไร (Condenser MIcrophone)
- สัญญาณเสียงเข้า
- กะบังลม
- แผ่นเพลตด้านหลัง
- แบตเตอร์รี่
- ตัวต้านทาน
- สัญญาณเสียงขาออก
ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ (Condenser Microphone) นั้นมีความสามารถรับเสียงได้ดีกว่า ไมค์แบบ dynamic โดยสามารถเก็บสัญญาณเสียงได้ละเอียดกว่า หลักการทำงาน เกิดจากการรับสัญญาณเสียงเข้ามา ผ่านกะบังลม และเมื่อเสียงผ่านกะบังลม จะกระทบกับแผ่นเพลตด้านหลังซึ่งทำจาก วัสดุโลหะเล็กๆ ทำให้เกิดการคลื่นสั่นสะเทือน ในตัวจะมีแบตเตอร์รี่ และ ตัวต้านทานอยู่ภายใน และจึงส่งสัญญาณเสียงออก
ที่นี้เราพอจะทราบแล้วว่า ไมโครโฟนไดนามิก และ ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ ต่างกันอย่างไร บ้างแล้วใช่ไหมครับ
ไมโครโฟนไดนามิก และ ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ ต่างกันอย่างไร
เรามาดูจากตารางเปรียบเทียบของระบบ ไมโครโฟนไดนามิก และ ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ ต่างกันอย่างไร บ้าง
Dynamic Microphones | Condenser Microphones | |
---|---|---|
หลักการทำงาน |
Electromagnetic induction | Electrostatic principles |
Active/Passive |
Passive | Active |
ความถี่ที่รองรับ |
จำกัด | คงที่/ขยายได้ |
ความไวในการับเสียง |
ช้า | เร็ว |
การรับเสียง |
ได้จากทุกทิศทาง | ได้จากทุกทิศทาง |
ความไวตอบสนอง |
ต่ำ | สูง |
เสียงรบกวนในตัว |
ไม่มี | มี |
ค่าความดังของเสียง |
รองรับได้สูง | รองรับได้ตามข้อจำกัดของไมค์นั้นๆ |
ความทนทาน |
ทนทาน | เสียหายง่ายกว่าแบบ dynamic |
ราคา |
ถูก ถึง ปานกลาง | ถูก ถึง แพงมาก |
สรุป ไมโครโฟนไดนามิก และ ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ ต่างกันอย่างไร
ไมโครโฟนแบบไดนามิกนั้น เหมาะสำหรับใช้งาน กับ สถานที่โล่ง กว้าง ซึ่งมีเสียงรบกวนต่าง ๆ จากสภาพแวดล้อม ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์นั้น เหมาะสำหรับใช้งานกับห้องสตู หรือ สถานที่ที่เก็บเสียง ห้องอัดเสียง เป็นต้น เพราะตัวไมค์นั้นสามารถรับเสียงได้ดีมาก และ เก็บรายละเอียดเสียงได้ดี หากท่านสนใจไมโครโฟนแบบต่าง ๆ คลิ๊กที่ปุ่ม ด้านล่าง เพื่อดูรุ่นและราคา