โปรเจคเตอร์ (Projector)

โปรเจคเตอร์

โปรเจคเตอร์ (Projector) คือ เครื่องที่ใช้ฉายภาพหรือแสง จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ เครื่องส่งสัญญาณภาพต่าง ๆ มาแสดงที่ จอรับภาพ ใช้เพื่อ การเรียนการสอน และ การประชุม ชมภาพยนตร์ ซึ่งเครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ นั่นเหมาะสำหรับ การใช้านหลากหลาย ดูบอล ดูหนัง หรือใช้งานร่วมกับกล่อง Android สามารถรองรับการแสดงภาพได้ตั้งแต่ 50 นิ้ว ถึง 500 นิ้ว แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อและความสว่าง หากคุณกำลังสนใจที่จะใช้งาน Projector เครื่องโปรเจคเตอร์ Acer, Epson, Panasonic, Sony, Vivitek เรามีให้ท่านเลือก มีหลาย ราคา หลายรุ่น ให้เลือก

เครื่องโปรเจคเตอร์ ราคา (Projector price)

แสดง %d รายการ

฿32,900.00

เลือกใช้เครื่องโปรเจคเตอร์แบบไหนดี (Projector)

1.เทคโนโลยีของ เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ Projector

ในปัจจุบันนี้ มีเทคโนโลยีที่เข้ามาทดแทน เทคโนโลยีแบบเก่าแล้วซึ่งทำให้การแสดงภาพ และ ความละเอียดที่สูงมากกว่าเดิม พร้อมทั้งยังมีความทนทานมากกว่า เก่า ซึ่งแต่ละเทคโนโลยี ก็มีข้อดี และ ข้อเสีย แตกต่างกันไป เรามาดูกันว่า แต่ละเทคโนโลยี นั้นเป็นอย่างไร กันครับ

  • เทคโนโลยี DLP: สำหรับ เทคโนโลยี DLP® นี้เป็น ของ Texas Instruments เป็นผู้นำอุตสาหกรรมในด้านจอแสดงผลความละเอียดสูงและโซลูชันการควบคุมแสงขั้นสูงสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ต่าง ๆ เช่น ยานยนต์ และอุตสาหกรรม Texas Instruments ได้ผลิตชิปเซ็ตหลากหลายขนาดเพื่อใช้งานเกี่ยวกับ แสง ความสว่าง และอื่นๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ 
    • Single chipset DLP :ใน Projector ที่มีชิป DLP ตัวเดียว สร้างสีโดยการวางวงล้อสีระหว่างหลอดไฟสีขาวกับชิป DLP หรือโดยการใช้แหล่งกำเนิดแสงแต่ละแห่งเพื่อสร้างสีหลัก ไฟ LED หรือเลเซอร์ เป็นต้น วงล้อสีแบ่งออกเป็นหลายส่วน: สีหลัก: สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน และในหลายกรณี สีขาว (ใส) ระบบที่ใหม่กว่าจะแทนที่สีหลักด้วย สีฟ้า สีม่วงแดง และสีเหลืองเป็นสีขาว การใช้สีแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสิทธิภาพสีที่ใหม่กว่าที่เรียกว่า BrilliantColor
    • ซึ่งประมวลผลสีเพิ่มเติมพร้อมกับสีที่หักออกเพื่อสร้างสเปกตรัมที่กว้างขึ้นของการผสมสีที่เป็นไปได้บนหน้าจอชิป DLP จะซิงโครไนซ์กับการเคลื่อนที่แบบหมุนของวงล้อสี เพื่อให้ส่วนประกอบสีเขียวปรากฏบน DMD เมื่อส่วนสีเขียวของวงล้อสีอยู่ด้านหน้าหลอดไฟ เช่นเดียวกับส่วนสีแดง สีน้ำเงิน และส่วนอื่นๆ ดังนั้นสีจะถูกแสดงตามลำดับที่โปรแกรมไว้ ในอัตราที่สูงพอที่ตาของเราจะเห็น แสงและสีที่ประกอบกันเป็นภาพ ในรุ่นแรกๆ จะเป็นการหมุนหนึ่งครั้งต่อเฟรม ซึ่งในปัจจุบันนี้ ระบบส่วนใหญ่จะทำงานที่อัตราเฟรมสูงสุด 10 เท่า
รูปภาพแสดงของ single chip DLP
    • Three chipset DLP :Projector DLP แบบสามชิป เป็นการใช้ปริซึมเพื่อแยกแสงออกจากหลอดไฟ จากนั้นแสงสีหลักแต่ละสีจะถูกส่งไปยังชิป DMD ของตัวเอง จากนั้นจึงรวมเข้าด้วยกันอีกครั้งและส่งผ่านเลนส์ ระบบ 3DLP พบได้ในโปรเจ็กเตอร์โฮมเธียเตอร์ระดับสูง โปรเจ็กเตอร์ขนาดใหญ่ และระบบฉายภาพ DLP Cinema ที่พบในโรงภาพยนตร์ดิจิทัล และในปัจจุบันก็ได้มี projector บางรุ่นได้นำมาใส่ไว้ในเครื่องระดับ business แล้ว 
เปรียบเทียบเทคโนโลยี single DLP กับ 3chip DLP โปรเจคเตอร์

ข้อดี และ ข้อเสีย ของ โปรเจคเตอร์ เทคโนโลยี DLP

  • ข้อดี คือ มีความคมชัดที่สูง (ค่า contrast) กว่าแบบเทคโนโลยีอื่น ทำให้ภาพที่ออกมามีความคมชัดที่สูงกว่า
  • ข้อเสีย คือ สีสันที่ได้ไม่สดหรือสมจริงเท่ากับ เทคโนโลยีแบบอื่น แต่จะได้ค่าคมชัดของตัวอักษร เข้ามาแทน รุ่นเก่าอาจจะมีปัญหาในเรื่องของ Rainbow effect อายุของหลอดภาพที่ใช้ได้ ประมาณ 6,000 ชั่วโมง ถึง 10,000 ชั่วโมง ในโหมดแบบประหยัดพลังงาน สามารถเปลี่ยนหลอดภาพได้แต่สีและความสดจะลดลงไปเรื่อย ๆ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยน 
  • เทคโนโลยี LCD (Liquid Crytal Display) : เป็นเทคโนโลยี ที่ฉายภาพจาก หลอดแสงเทคโนโลยีการฉายภาพดิจิตอลครั้งแรกคือ LCD (จอแสดงผลคริสตัลเหลว) มันถูกคิดค้นโดย Gene Dolgoff ในปี 1968 แต่เทคโนโลยี LCD ยังไม่ได้รับการพัฒนาเพียงพอที่จะใช้งานได้จริงในโปรเจ็กเตอร์ในขณะนั้น ซึ่งจะต้องรอจนถึงกลางทศวรรษ 1980หลักการทำงาน ค่อนข้างง่าย แสงสีขาวจากหลอดไฟแบ่งออกเป็นองค์ประกอบสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงินโดยใช้กระจกไดโครอิก ซึ่งสะท้อนความยาวคลื่นบางช่วงและส่งผ่านความยาวคลื่นอื่นๆ กระจกทั้งสามนี้ จะแปลงแสงสีขาวเป็นสีหลักสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งสามารถแสดงสีที่เหมาะสมออกมา โดยเมื่อก่อนจะใช้งานในระบบ 1LCD ในการฉายภาพและแสงออก ส่วนในปัจจุบัน จะใช้เทคโนโลยีแบบ 3LCD กันซะส่วนใหญ่เพื่อแสดงแสงและภาพออกมาได้สมจริงที่สุด
เทคโนโลยี 3LCD โปรเจคเตอร์
    • เทคโนโลยี 3LCD3LCD เป็นชื่อและแบรนด์ของเทคโนโลยี การสร้างภาพสีสำหรับการฉายภาพ  ที่สำคัญซึ่งใช้ใน โปรเจคเตอร์รุ่นปัจจุบัน เทคโนโลยี 3LCD ได้รับการพัฒนาและปรับแต่งโดยบริษัทด้านภาพของญี่ปุ่น Epson ในทศวรรษ 1980 และได้รับอนุญาตให้ใช้ในโปรเจคเตอร์ครั้งแรกในปี 1988 ในเดือนมกราคม 1989 Epson ได้เปิดตัวโปรเจคเตอร์ 3LCD เครื่องแรกแม้ว่าเอปสันจะยังเป็นเจ้าของเทคโนโลยี 3LCD แต่ก็ทำการตลาดโดยองค์กรในเครือซึ่งตั้งชื่อตามเทคโนโลยีนี้อย่างง่ายๆ ว่า "3LCD" องค์กรนี้เป็นกลุ่มผู้ผลิตโปรเจ็กเตอร์ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เทคโนโลยี 3LCD ในผลิตภัณฑ์ของตน จนถึงปัจจุบัน โปรเจคเตอร์ประมาณ 40 แบรนด์ทั่วโลกได้นำเทคโนโลยี 3LCD มาใช้เทคโนโลยี 3LCD ได้ชื่อมาจากชิปแผง LCD สามตัวที่ใช้ในกลไกสร้างภาพตามรูป

ข้อดี และ ข้อเสีย ของ โปรเจคเตอร์ เทคโนโลยี LCD

  • ข้อดี คือ ทำให้ภาพที่ได้มีความสดของสีสมจริง มากกว่า เทคโนโลยีแบบอื่น และ ความสว่างที่คมชัดกว่า และใช้พลังงานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ DLP แบบ single chipset ไม่มี rainbow effect จากโปรเจ็กเตอร์ แบบ 3LCD ซึ่งแสดงสีหลักทั้งสามตลอดเวลา จึงไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้
  • ข้อเสีย คือ ด้วยข้อจำกัดทางด้าน Chipset ซึ่งทำให้ค่า Contrast ที่ออกมาไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับ เทคโนโลยีอื่น และ ความคมชัดสู้กับเทคโนโลยีแบบ Laser ไม่ได้ และหลอดภาพมีอายุการใช้งานได้น้อยกว่า เทคโนโลยี Laser
  • เทคโนโลยี LASER : เป็นเทคโนโลยีที่ กำเนิดแสงจาก LASER ที่ใช้ Diode เลเซอร์สีน้ำเงินเป็นแหล่งกำเนิดแสงหลักเท่านั้น แสงสีฟ้าจากเลเซอร์ไดโอดจะส่องไปยังล้อหมุนที่เคลือบสารเรืองแสงสีเหลือง กระตุ้นแสงสีเหลืองที่ผลิตสารเรืองแสงจากนั้นแสงสีเหลืองจะถูกแยกออกโดยใช้การเคลือบไดโครอิกเพื่อสร้างแสงสีแดงและสีเขียว ในขณะที่องค์ประกอบแสงสีน้ำเงิน จะผ่านส่วนการแพร่โดยตรงในวงล้อสารเรืองแสง ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้กำลังมาแทนที่ เทคโนโลยีแบบเก่า เพราะว่ามีความสว่าง ความคมชัด ที่สูงกว่า และไม่ต้องใช้หลอดภาพ  ในการฉายแสง
เทคโนโลยี เลเซอร์ โปรเจคเตอร์ (Laser projector)
  • ข้อดีและข้อเสีย ของ เทคโนโลยี Laser
    • ข้อดีที่ต่างกันอย่างชัดเจน คือ ไม่ต้องใช้หลอดภาพ จึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหลอดภาพนั่นเอง และ มีความคมชัดที่สูงกว่า และ ความสว่างที่มากกว่า โปรเจคเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีแบบอื่น ๆ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ซึ่งสามารถใช้งานได้นาน ถึง 30,000 ชั่วโมง และยังสามารถเปิด - ปิด เครื่องได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ เครื่อง cool down การบำรุงรักษาที่ง่ายกว่าด้วย
    • ข้อเสีย เนื่องจากไม่ต้องใช้หลอดภาพ ถ้า Diode เสียต้องเปลี่ยนใหม่อย่างเดียวเท่านั้น ราคาเครื่องเมื่อเทียบกับ เทคโนโลยีแบบอื่น ก็จะมีราคาที่สูงกว่า 

2. ความสว่าง เครื่องโปรเจคเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน

หลายท่านก่อนจะซื้อเครื่อง โปรเจคเตอร์ ไปใช้งานคงมีคำถามที่ว่า จะใช้ความสว่างเท่าไหร่ดีในการในใช้งานภายในห้อง เรามาดูกันว่าห้องแบบไหน ควรใช้ความสว่างเท่าไหร่

  • ใช้งานในห้องที่มืดหรือมีแสงสว่างไม่มากนัก : ในกรณีที่ท่านต้องการใช้งานภายในห้องนั่งเล่น หรือ ห้องนอน ซึ่งมีความสว่างภายในห้องไม่มากนัก หรือใช้งานกับจอรับภาพที่มีขนาด 100 นิ้ว - 120 นิ้ว ข้อแนะนำของเราคือ ใช้เครื่องฉายภาพ ความสว่าง 1000-3000 Ansilumens
  • ใช้งานในห้องที่ต้อง เปิดไฟดาวน์ไลท์ หรือ ไฟนีออน ภายในห้อง และมีแสงจากภายนอกเข้ามาเล็กน้อย ใช้กับจอรับภาพที่มีขนาด 100 - 120 นิ้ว ข้อแนะนำของเราคือ ใช้เครื่องฉายภาพ ความสว่าง 3001-4000 Ansilumens
  • ใช้งานในห้องที่มีความสว่าง จากภายนอกเข้ามาด้วย และ ต้องเปิดไฟภายในห้องด้วย โดยใช้กับจอรับภาพตั้งแต่ 70-150 นิ้ว ข้อแนะนำของเราคือ ใช้ Projector ความสว่าง 4001-5000 Ansilumens
  • ใช้งานในห้องที่ใหญ่ และ มีความสว่างจากแสงไฟในห้อง โดยใช้กับจอมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 150-200 นิ้ว เราขอแนะนำให้ใช้ โปรเจ็กเตอร์ ที่มีความสว่าง 5001-6000 Ansilumens
  • ใช้งานในห้องขนาดใหญ่มาก เช่น หอประชุม และมีไฟภายในห้อง โดยใช้กับ จอรับภาพขนาด 200-250 นิ้ว เราขอแนะนำให้ใช้ เครื่องฉายภาพที่มีความสว่าง 6001-7000 Ansilumens
  • ใช้งานภายนอก หรือ ห้องที่มีขนาดใหญ่ หรือ ใช้งานร่วมกับ จอมอเตอร์ไฟฟ้า 300 นิ้ว ขึ้นไป เราขอแนะนำให้ใช้ เครื่องฉาย ที่มีความสว่าง 7001 Ansilumens ขึ้นไป 
ความสว่างของโปรเจคเตอร์ กับ ห้องประชุมใหญ่

3. ระยะฉายภาพเครื่องโปรเจคเตอร์

ก่อนทำการจะซื้อต้องคำนวนดูขนาดห้องของเราก่อน ว่ามีขนาดห้องเท่าไหร่ ไม่งั้นเราซื้อไปใช้งานไม่ได้ ฉายภาพแล้วมีภาพไม่เต็ม ไม่ได้ตามอัตราส่วนที่ต้องการ และเครื่องแต่ล่ะรุ่นมีระยะฉายเท่าไหร่ จึงจะได้ภาพขนาดกี่นิ้ว เราจึงจำเป็นต้องรู้ระยะฉายภาพนั่นเอง

ระยะฉาย โปรเจคเตอร์แบบต่าง ๆ
  • ระยะฉายใกล้มาก (Ultra Short Throw) : โปรเจ็กเตอร์ แบบนี้จะมีระยะติดตั้งที่ใกล้มากประมาณ 20-40 ซม.ห่างจาก จอรับภาพ ได้ภาพที่ใหญ่ประมาณ 70-100 นิ้ว 
  • ระยะฉายใกล้ (Short Throw) : เป็นเครื่องฉายภาพที่มีระยะการฉาย 1 -2 เมตร ได้ภาพที่มีขนาดเส้นทะแยงมุม 70-100 นิ้ว 
  • ระยะฉายปกติ (Normal Throw) เป็นเครื่องฉายภาพ ที่มีระยะการฉายภาพ 3-5 เมตร ได้ภาพที่มีขนาดเส้นทะแยงมุม 70-120 นิ้ว แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ  
  • ระยะฉายไกล (Long Throw) เป็นเครื่องฉายภาพ ที่มีระยะฉายภาพ 7-9 เมตร ได้ภาพที่มีขนาดเส้นทะแยงมุม 70-150 นิ้ว ซึ่งเครื่องฉายภาพประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องที่มีความสว่างสูง และต้องทำการเปลี่ยนเลนส์ของตัวเครื่อง 
-30%
-21%
฿34,900.00
฿19,900.00

4. ความละเอียดเครื่องโปรเจคเตอร์ ที่เหมาะสม

ความละเอียดของ เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ Projector นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการใช้งาน เพราะว่าเราต้องเลือกให้เหมาะสมกับ จอโปรเจคเตอร์ และ เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา หรือ เครื่องเล่นไฟล์ภาพของเรานั่นเอง ความละเอียดในปัจจุบันนี้มีขนาดเท่าไหร่บ้างเราไปดูกันครับ

ความละเอียด และ อัตราส่วน ของโปรเจคเตอร์
  • ความละเอียด XGA (1024x768) เหมาะสำหรับจอรับภาพแบบ 4:3 ซึ่งโปรเจคเตอร์อัตราส่วนนี้จะเป็นความละเอียดที่ต่ำที่สุดในท้องตลาดในปัจจุบัน หากเลือกใช้โปรเจคเตอร์ประเภทนี้ เวลาเราเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ จอคอมพิวเตอร์ของเราก็จะบีบหน้าจอลงไปตามความละเอียดของโปรเจคเตอร์ ซึ่งภาพที่ออกมาจะไม่ค่อยสมส่วน เท่าไหร่นัก แต่นิยมใช้เพราะ ราคาถูกที่สุดในท้องตลาด
  • ความละเอียด WXGA (1280x800) เหมาะ สำหรับ จอภาพแบบ 16:10 ซึ่ง เหมาะกับการนำเสนองานโดยทั่วไป สำหรับห้องเรียน ห้องประชุมที่ไม่ต้องการ ความละเอียดของภาพที่สูง
  • ความละเอียด FHD (1920x1080) เหมาะสำหรับ งานนำเสนอ และ ห้องเรียน ที่ต้องการความละเอียดที่ดีขึ้นมา และเหมาะที่จะใช้กับ จอโปรเจคเตอร์อัตราส่วน 16:9
  • ความละเอียด WUXGA (1920x1200) เหมาะสำหรับ จอโปรเจคเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีอัตราส่วน 16:10 รองรับการนำเสนอภาพที่คมชัดยิ่งขึ้น 
  • ความละเอียด 4K (3840x2160) เหมาะสำหรับงานนำเสนอที่ต้องการความละเอียดระดับสูง หรือ การชมภาพยนตร์ เหมาะกับ จอรับภาพอัตราส่วน 16:9 

5. อัตราส่วน เครื่องโปรเจคเตอร์ ที่จะใช้งาน

เราจะเลือกเครื่อง โปรเจคเตอร์ projector ที่ใช้อัตราส่วนภาพแบบไหนดี อันดับแรกที่ต้องพิจารณา คือ 

  • จอภาพที่เราใช้ เราใช้จอรับภาพที่มีอัตราส่วนเท่าไหร่ กรณีที่เรามีจอภาพ แบบ 16:9 เราก็น่าจะต้องเลือกใช้เครื่องที่มีอัตราส่วน Native ที่ 16:9 (อัตราส่วน Native หมายถึง ค่าเริ่มต้นของเครื่องที่ทางโรงงานติดตั้งมาให้) ซึ่ง ปกติ เครื่องโปรเจคเตอร์ นั้นจะสามารถ เปลี่ยนแปลง อัตราส่วนได้ บางเครื่องสามารถ เลือกได้ว่าจะให้แสดงภาพแบบ 4:3 หรือ 16:9 หรือ 16:10 หรือ อัตราส่วนอื่น ๆ แต่ภาพที่ได้จะไม่สมดุล เท่ากับ ค่าเริ่มต้นของเครื่องนั่นเอง
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งาน หรือ เครื่องเล่น DVD CD หรือ กล่อง Android box ที่เราใช้เชื่อมต่อกับ เครื่องฉายภาพ ว่ามีอัตราส่วนหรือความละเอียด เริ่มต้นที่เท่าไหร่ 
  • วัตถุประสงค์ในการใช้งาน เช่น งานที่เราใช้คือการนำเสนอ ผลงาน ที่ต้องการความละเอียดสูง ๆ ส่วนใหญ่ ความละเอียดสูง ๆ จะมีอัตราส่วนอยู่ที่ 16:9 และ 16:10 นั่นเอง
  • อัตราส่วน 2.35:1 เป็นอัตราส่วนสำหรับการชมภาพยนตร์ ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่กว้างขึ้นเหมาะสำหรับโรงภาพยนตร์ (CinemaScope)
อัตราส่วนภาพโปรเจคเตอร์

6. Contrast Ratio (อัตราความคมชัด)

อัตราความคมชัด Contrast Ratio คือ อัตราส่วนของแสงที่สะท้อนจากภาพสีขาวทั้งหมดและภาพสีดำทั้งหมด ดังนั้นโปรเจคเตอร์ที่มีอัตราส่วน Contrast 3000:1 หมายความว่า ภาพสีขาวสว่างกว่า ภาพสีดำ 3000 เท่า ยิ่งอัตราส่วนคอนทราสต์สูงเท่าใด คุณก็ยิ่งเห็นรายละเอียดบนภาพที่ฉายมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข รูปภาพ กราฟ ข้อความ หรือ วิดีโอ ความเปรียบต่างคือสิ่งที่ทำให้เรามองเห็นเฉดสีที่ละเอียดอ่อนได้ ความคมชัดที่ดีคือการเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ได้ดีนั่นเอง

ค่า contrast ratio

ส่วนใหญ่แล้ว ค่า contrast นั้นจะใช้สำหรับงานที่ต้องการแสดงภาพความละเอียดที่สมจริงซึ่งส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะใช้ควบคู่กับการ รับชมภาพยนตร์ หรือ แสดงภาพที่มีความต่างของสีที่สูง เช่น แสดงภาพ เพชร พลอย หรือ พระเครื่อง เป็นต้น แต่ปัจจัยที่ใหญ่ที่สุดที่ส่งผลต่อค่า contrast ก็คือห้องที่ใช้งานของคุณ แสงในห้องเป็นสิ่งที่ทำลายค่า contrast ซึ่งการใช้แสงในห้องเพียงเล็กน้อยเพื่อลด contrast 

7. การเชื่อมต่อ เครื่องโปรเจคเตอร์

การเชื่อมต่อก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องพิจารณา เนื่องจากว่า ในปัจจุบันนี้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องเล่นภาพนั้นจะใช้ช่องแบบ DP, HDMI, VGA, USB ซึ่งเราก็ต้องพิจารณาดูว่า ช่องเชื่อมต่อของเครื่องโปรเจคเตอร์นั้นมีหรือไม่ และ อาจจะพิจารณาถึง การแสดงภาพแบบไร้สาย เข้ามาช่วยด้วย ซึ่งเครื่องโปรเจคเตอร์บางรุ่น สามารถที่จะแสดงภาพได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่อสายสัญญาณ ซึ่งการหากเครื่องโปรเจคเตอร์ ไม่สามารถเชื่อมต่อแบบไร้สายได้ ก็สามารถใช้อุปกรณ์เสริมในการเชื่อมต่อและแสดงภาพได้ โดยสามารถแสดงภาพได้ที่ความละเอียด fullHD และสามารถเชื่อมต่อผ่านทางระบบ Andoird , iOS, Windows ได้อีกด้วย หากต้องการเครื่องส่งสัญญาณภาพไร้สาย คลิ๊กทีนี้

เบอร์โทร ออล เอ็ดดูแคร์
hotline all educare
line ID and barcode

8. ฟังก์ชั่นการปรับแสดงภาพ ของเครื่องโปรเจคเตอร์

ทำไมต้องดูเรื่องของฟังก์ชั่นของภาพ เพราะ หากเราซื้อเครื่องไปแล้ว และต้องนำไปใช้งานในสถานที่ต่าง ๆ การปรับภาพก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก สิ่งหนึ่งเลยทีเดี่ยว ฟังก์ชั่นการปรับภาพมีอะไรบ้าง

  • ฟังก์ชั่นพื้นฐานที่ทุกเครื่องต้องมี KeyStone : ฟังก์ชั่น Keystone คือฟังก์ชั่นสำหรับการปรับภาพแบบ สี่เหลี่ยมคางหมู ใช้สำหรับเวลาที่เราฉายภาพเข้าไปที่ จอโปรเจคเตอร์ แล้วเครื่องของเราเกิดต้องตั้งในพื้นที่ ที่เอียง หรือในพื้นที่ ที่บังคับให้ เครื่องโปรเจคเตอร์นั้น ต้องมีการหมุน เครื่อง ซ้าย หรือ ขวา เพื่อทำการฉายภาพ ส่วนใหญ่เครื่อง โปรเจคเตอร์  ที่ไม่ใช่เครื่องใหญ่ จะมีฟังก์ชั่น keystone เฉพาะแนวตั้ง เท่านั้น แต่หากเครื่องที่มีความสว่างสูงขึ้นหรือเครื่องที่ใหญ่ขึ้น จะมีฟังก์ชั่น keystone ทั้งแบบแนวตั้ง และ แนวนอน
function keystone projector
ภาพที่ได้หลังจาก keystone
  • ฟังก์ชั่น shift lens เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้ในกรณีที่เครื่องโปรเจคเตอร์ของเรา ติดตั้ง ในตำแหน่งที่บังคับ ซึ่งภาพที่ฉายออกมาจะโดนสิ่งกีดขวาง ทำให้เราต้องย้ายภาพ แต่การย้ายภาพนั้นทำไม่ได้เนื่องจากติดที่ ตำแหน่งที่วางของเครื่องโปรเจคเตอร์
โปรเจคเตอร์ ชิบเลนส์แนวนอน
ฟังก์ชั่นเลนส์ชิบของโปรเจคเตอร์
ตำแหน่งโปรเจคเตอร์ ในการชิบเลนส์

9. ช่องสัญญาณ (port) ของ เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์

เป็นอีกเรื่องที่เราต้องคำนึงถึง เนื่องจากว่า ช่องรับสัญญาณภาพของเครื่อง โปรเจคเตอร์ ที่เราจะซื้อนั้นสามารถรองรับกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ เครื่องเล่น หรือ กล้องที่จะส่งสัญญาณภาพของเราได้หรือไม่ เราจึงควรที่จะทำความรู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับช่องรับสัญญาณภาพแบบต่าง ๆ เพื่อจะได้เลือกซื้อได้ถูกต้องและตรงกับความต้องการของเรา ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีช่องรับสัญญาณภาพดังนี้ 

ช่องรับสัญญาณภาพ HDMI

HDMI port

ช่องเชื่อมต่อ HDMI เป็นการเชื่อมต่อที่ใช้มากที่สุดของโปรเจ็กเตอร์ ด้วยการเชื่อมต่อ HDMI จะได้ภาพ แบบดิจิตอลและสัญญาณเสียง ในตัว รองรับความละเอียดสูงถึง 4K

ช่องรับสัญญาณภาพ DVI-D

DVI-D

เป็นช่องรับสัญญาณภาพ แบบดิจิตอล เช่นเดี่ยวกับ HDMI โดยสามารถรองรับและส่งสัญญาณภาพความละเอียดที่สูงได้ โดยสามารถยึดติดกับ ช่องรับสัญญาณโปรเจคเตอร์ได้อย่างแน่นหนา โดยการขันน๊อตยึด

ช่องรับส่งสัญญาณภาพ VGA

VGA port 

เป็นช่องที่สามารถรับส่งสัญญาณภาพ ได้แบบ อนาล็อก โดยเป็น port ที่นิยมมากอีกแบบหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยได้ใช้งานมากนักแล้ว โดยส่วนใหญ่หันไปใช้งาน HDMI กัน แต่สำหรับคอมพิวเตอร์บางรุ่น ก็ยังมี ช่องส่งสัญญาณประเภทนี้อยู่ 

ช่องเชื่อมต่อแบบ component

Component port

การเชื่อมต่อ แบบนี้ ใช้สำหรับ เครื่องเล่นเกมส์ รุ่น เก่า ๆ เช่น Nintendo Wii สายเคเบิลส่งสัญญาณวิดีโอแอนะล็อกและประกอบด้วยขั้วต่อสีแดง เขียว และน้ำเงิน หากขั้วต่อสีเขียวเป็นสีเหลืองบางส่วนหรือทั้งหมด แสดงว่าขั้วต่อดังกล่าวทำงานเป็นการเชื่อมต่อแบบคอมโพสิตด้วย

ช่องเชื่อมต่อ แบบ composite VDO

Composite VDO

ช่องเชื่อมต่อนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งหากคุณต้องการเชื่อมต่อกล้องวิดีโอรุ่นเก่า หากเครื่องเล่นของคุณเป็นเครื่องรุ่นเก่า ก็จำเป็นที่เครื่องโปรเจคเตอร์ต้องมี ช่องเชื่อมต่อชนิดนี้ ต่อสัญญาณภาพที่ได้จะมีคุณภาพไม่สูง

ช่องเชื่อมต่อแบบ S-VDO

S VDO port

ช่องประเภทนี้ จะคล้าย ๆ กับ ช่องเชื่อมต่อแบบ component หรือ composite การส่งสัญญาณจะเป็นการส่งสัญญาณแบบ อนาล็อก การเชื่อมต่อโดยช่องแบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า

ช่องเชื่อมต่อแบบ RCA

RCA

โดยส่วนใหญ่ โปรเจคเตอร์จะรับสัญญาณภาพอย่างเดียว แต่ถ้าเครื่องไหนมีช่องแบบ RCA ก็จะสามารถรับสัญญาณเสียงได้ด้วย โดยถ้าหากมีช่องส่งสัญญาณออก ก็จะสามารถส่งสัญญาณไปที่เครื่องขยายเสียงได้
ช่องสัญญาณเสียง 3.5 มม.

3.5mm input

ช่องสัญญาณนี้ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ จะเรียกสั้น ๆ ว่า aux input. โดยคุณสามารถที่จะส่งสัญญาณเสียงจากคอมพิวเตอร์ หรือ โน๊ตบุ๊ค เข้าไปที่เครื่องโปรเจคเตอร์ได้ ผ่านทางช่องสัญญาณนี้.
ช่องเชื่อมต่อแบบ optical สำหรับโปรเจคเตอร์

Optical

ถ้าเปรียบเทียบระหว่าง ช่อง RCA หรือ 3.5mm,ช่องสัญญาณแบบ Optical นี้จะดีกว่าตรงที่ว่าสามารถรับสัญญาณเสียงแบบ ดิจิตอล ได้นั้นเอง ซึ่งส่วนใหญ่ เริ่มที่จะใช้งานช่องแบบ optical กันมากขึ้นแล้ว 
ช่องรับสัญญาณ RS232

RS-232

สำหรับ ช่องเชื่อมต่อ แบบ RS-232 นี้มีไว้เพื่อใช้สำหรับการเชื่อมต่อสัญญาณ และ ควบคุมการทำงาน โดยสามารถสั่งงานผ่านทาง RS-232 
ช่องเชื่อมต่อ LAN

Network RJ45 (LAN)

คุณสามารถเชื่อมต่อสัญญาณคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมการทำงาน โดยผ่านทางช่อง RJ45 ได้ ผ่านทางระบบเน็ตเวิร์ด โดยเครื่องโปรเจคเตอร์บางุร่นสามารถสั่ง เปิด-ปิด ตั้งเวลา หรือปรับค่าต่าง ๆ  ได้ผ่านทางช่องทางนี้ โดยผ่านทางระบบเครื่อข่ายภายใน ซึ่งตรงนี้แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อว่าจะมีฟังก์ชั่นตัวนี้ หรือไม่
ช่องเชื่อมต่อแบบ trigger สำหรับโปรเจคเตอร์

12V trigger

ชื่อนี้หลายคนคงจะไม่คุ้นเคย ช่องสัญญาณ ทริกเกอร์นี้ จะใช้งานร่วมกับ จอโปรเจคเตอร์ไฟฟ้า หรือ จอมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งถ้าหากคุณเปิดเครื่องโปรเจ็กเตอร์แล้ว จอโปรเจคเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้งานร่วมกันก็จะสามารถเลื่อน ลง หรือ ขึ้น ทันทีตามที่คุณเปิดใช้งานเครื่องโปรเจ็กเตอร์
ช่องเชื่อมต่อแบบ USB สำหรับโปรเจคเตอร์

USB

ช่องเชื่อมต่อแบบ USB นั่นมีหลากหลายประโยชน์มาก โดยสามารถที่จะแสดงภาพผ่านทาง USB flash drive ก็ได้ หรือ สามารถทำการเชื่อมต่อเพื่อแปลงการใช้งานของเครื่องให้เป็นแบบไร้สายก็ได้ หรือ สามารถเชื่อมต่อกับ โทรศัพท์มือถือเพื่อแสดงภาพก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องและยี่ห้อ 

สอบถามเพิ่มเติม

เบอร์โทร ออล เอ็ดดูแคร์
hotline all educare
line ID and barcode