VDO processor (เครื่องรับส่งสัญญาณหลายรูปแบบ)

vdo processor

VDO processor (เครื่องรับส่งสัญญาณหลายรูปแบบ) คือ เครื่องที่ใช้งานควบคู่กับ จอ LED full color display ทั้งแบบภายใน และ ภายนอก ซึ่งตัวเครื่องจะเป็นเหมือน scalar ทำหน้าหน้าที่รับสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ กล้องวีดีโอ หรือ เครื่องส่งสัญญาณภาพ เข้ามาแล้วแปลงสัญญาณส่งออกไปแสดงที่ จอ LED โดยทำให้ภาพที่ส่งออกไปแสดงได้เต็มและพอดีกับหน้าจอ LED และสามารถที่แสดงภาพซ้อนทับ หรือ แทรกข้อความลงไป ในภาพที่แสดงได้ โดย มีฟังก์ชั่น PIP, POP 

เลือก เครื่อง VDO processor ที่ต้องการ

แสดงทั้งหมด 30 ผลลัพท์

฿65,000.00
฿49,500.00
฿30,000.00
฿48,000.00
฿45,000.00
฿14,000.00
฿9,500.00
฿12,750.00
-8%
สินค้าหมดแล้ว
฿8,500.00
฿25,900.00
฿85,000.00
฿25,000.00
฿12,500.00
฿15,000.00
฿15,000.00
฿9,000.00
฿35,000.00
สินค้าหมดแล้ว
฿300,000.00
฿150,000.00
฿120,000.00
฿40,000.00
฿44,500.00
฿30,000.00
฿8,500.00
฿50,000.00
฿45,000.00
฿35,000.00
฿25,000.00
฿9,000.00
฿6,200.00

วิธีใช้งานและการเชื่อมต่อต่าง ๆ 

สำหรับอุปกรณ์ที่มาพร้อมภายใน เครื่อง VDO processor นั้นส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์ติดมาให้ดังนี้ครับ (แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ)

อุปกรณ์ที่ติดมากับตัวเครื่อง

 

วิธีการใช้งานเครื่อง

ก่อนใช้งานเราต้องทำการใส่ sending card เข้าไปที่ตัวเครื่องก่อน ในช่องหมายเลข 5 แล้วทำการเชื่อมต่อสายสัญญาณ RJ45 เข้าที่การ์ดเพื่อที่จะส่งสัญญาณไปยังการ์ดรับของจอ LED full color จากรูปจะอธิบายถึงส่วนประกอบด้านหลังคร่าว ๆ ซึ่งแต่ล่ะรุ่นจะคล้าย ๆ กัน จะต่างกันที่ ช่องเชื่อมต่อและโปรแกรม (แต่ล่ะรุ่นจะไม่เหมือนกัน)

ด้านหลังตัวเครื่อง

ช่องเชื่อมต่อสัญญาณสำหรับ VDO processor

  1. ชุดช่องสัญญาณเข้าเครื่อง VDO processor 
  2. ช่องเชื่อมต่อสัญญาณเสียง
  3. ช่องส่งสัญญาณออกไปที่ มอนิเตอร์
  4. ช่องเชื่อมต่อสำหรับชุดควบคุม
  5. ช่องใส่ sending card หรือ การ์ดส่งสัญญาณ

ด้านหน้าตัวเครื่อง

ด้านหน้าตัวเครื่อง VDO processor

  1. ชุดเลือกสัญญาณภาพที่ด้านหน้าเครื่อง ซึ่ง อำนวยความสะดวกในการใช้งานเลือกสัญญาณภาพ
  2. ชุดปรับค่าของตัวเครื่อง 
  3. ปุ่ม Auto/Take 
  4. ปุ่ม C/F
  5. ปุ่ม By pass
  6. ปุ่ม เปิด - ปิด หน่วยความจำของเครื่อง
  7. ปุ่ม Mosaic
  8. ปุ่ม Freeze
  9. ปุ่ม Exit และ ย้อนกลับ
  10. ปุ่ม เปิด - ปิด เครื่อง

ช่องเลือกสัญญาณเข้า เครื่อง VDO processor

จากรูปเป็นปุ่มสำหรับเลือกสัญญาณภาพขาเข้า เช่น V1,V2/YpbPr, VGA1, VGA2, HDMI, DVI, DP และ ปุ่ม EXT คือ ปุ่มที่เรากำหนดขึ้นเองเพื่อใช้สำหรับสัญญาณภาพที่เราต้องการเพิ่มเป็นพิเศษ

ปุ่มสำหรับตั้งค่าเครื่อง VDO processor

จากรูป ชุดนี้เป็นปุ่มสำหรับการตั้งค่าของเครื่อง และปุ่มสำหรับ เพิ่ม หรือ ลดแสงสว่าง สำหรับจอ LED Full color display และ ปุ่ม ok คือ ปุ่มที่ไว้สำหรับหมุน และ กด เพื่อเลือกฟังก์ชั่นที่ต้องการในการตั้งค่า ปุ่มถัดไปคือ ปุ่มย้อนกลับ

ปุ่ม Auto and take สำหรับ VDO processor

ปุ่ม Auto/Take คือ เป็นปุ่มที่ใช้สำหรับปรับสัญญาณภาพ VGA แบบอัตโนมัติ

ปุ่ม C/F

ปุ่ม C/F คือ ปุ่มตั่งค่าเวลาในการสลับภาพ เช่น การสลับภาพแแบบ seamless (การสลับภาพแบบไร้รอยต่อ) และ การสลับภาพแบบ Fade in Fade out โดยสามารถตั้งค่าหน่วงเวลาได้ โดยสามารถตั่งค่าเวลาได้ตั่งแต่ 0 วินาที ,0.5 วินาที, 1 วินาที, 1.5 วินาที 

ปุ่ม by pass ของเครื่อง VDO processor

ปุ่ม Bypass คือ ปุ่มสำหรับ Bypass output ของ PC โดยสลับสัญญาณของ PC บางส่วนหรือแบบเต็มจอ เพื่อนำภาพขึ้นไปแสดงที่หน้า จอ LED 

PIP and PBP button

ปุ่ม on/off คือ ปุ่มเปิด - ปิด PIP/ PBP เมื่อมีไฟขึ้น แล้วกด สัญญาณเข้าแล้วเลือกกลุ่ม ของสัญญาณเข้า สำหรับปุ่ม M1,M2,M3 คือปุ่มที่ใช้สลับโมเดล แบบ PIP/ PBP

ปุ่ม Mosaic สำหรับ VDO processor

ปุ่ม Mosaic คือ ปุ่มสำหรับ เปิด - ปิด ฟังก์ชั่น Mosaic 

ภาพแบบ mosaic

จากรูปเป็นภาพตัวอย่างสำหรับเวลาเปิดฟังก์ชั่น mosaic ของเครื่อง VDO processor

ปุ่มฟังก์ชั่น freeze

ปุ่มฟังก์ชั่น Freeze คือ ปุ่มสำหรับแชร์แข็งภาพ หรือ ค้างภาพที่แสดงไว้นั่นเอง

การตั่งค่าภายในเครื่อง

LCD for vdo processor

ในกรณีเปิดเครื่องแล้ว เราเชื่อมต่อสัญญาณภาพจากสาย HDMI นั่น หน้าจอ LCD จะปรากฏ ภาพขึ้นมาดังนี้

  • บรรทัดที่ 1 คือสถานะแสดงสัญญาณภาพในที่นี้แสดงเป็น HDMI
  • บรรทัดที่ 2 คือ เป็น status resolution เป็น 1080p_60Hz
  • บรรทัดที่ 3 คือ ขนาดภาพที่ส่งออก 1920x1080
  • บรรทัดที่ 4 คือ จุดเริ่มแสดงภาพที่ 0,0
  • บรรทัดที่ 5 คือ โหมดสลับภาพ แบบ one key sw
  • บรรทัดที่ 6 คือ ระยะเวลาในการสลับโหมด 1.5 วินาที 

หน้าจอ เมนู สำหรับการตัั้งค่า ให้เลือกไปที่ ปุ่ม setup แล้วเลือกการตั้งค่าได้ดังนี้ (แล้วแต่รุ่นของเครื่อง VDO Processor นั่น ๆ 

  1. Out Image คือ เมนูสำหรับการตั้งค่าส่งภาพออก
  2. Input Video Signal คือ เมนูสำหรับการเลือกสัญญาณภาพขาเข้า
  3. Text Overlay คือ การแทรกภาษาเข้าไปในภาพ
  4. Color&Brightness, etc คือ เมนูการตั้งค่าสี และ ความสว่าง และ อื่น ๆ 
  5. Audio คือ การตั้งค่าเสียง
  6. Communication คือ การตั้งค่าการสื่อสารของเครื่อง
  7. Language คือ การตั้งค่าภาษาของเครื่อง
  8. Advance คือ การตั้งค่าขัั้นสูง (ซึ่งตรงนี้เราจะอธิบายละเอียดให้ในแต่ล่ะรุ่นอีกที)

การตั้งค่าเครื่องให้เหมาะสมกับ จอ LED 

  • ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่าขนาดจอของเรามีขนาดเท่าไหร่ ก่อน ในที่นี้ จะยกตัวอย่าง จอที่มีขนาด กว้าง 1920 pixel สูง 1002 pixel 
  • เครื่องทุกรุ่นจะสามารถเข้าไปตั้งค่า การส่งสัญญาณภาพออกได้ โดยส่วนใหญ่จะต้องเข้าไปที่เมนู set up ก่อน แล้วหลังจากนั้นให้เลือกไปที่ เมนู output image resolution (บางรุ่นอาจจะใช้เป็นคำอื่น) แล้วให้เราทำการ ใส่ค่าตัวเลขความละเอียดลงไป ในที่นี้คือ W = 1920 pixel และ H = 1002 pixel เป็นต้น
  • เมื่อตั่งค่าแล้วให้ทำการบันทึกค่าของเราไว้ ตัวเครื่องก็จะจำค่าที่เราบันทึกไว้และส่งภาพออกไปที่ จอ LED นั่นเอง

สอบถามเพิ่มเติม

เบอร์โทร ออล เอ็ดดูแคร์
hotline all educare
line ID and barcode