กระดานอัจฉริยะ คือ อะไร

กระดานอัจฉริยะคืออะไร

กระดานอัจฉริยะ คือ อะไร มีข้อดี ข้อเสีย อะไรบ้าง ? (what is Interactive White Board )

สวัสดีครับ ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกันว่า กระดานอัจฉริยะ คือ อะไร ? ทำงานอย่างไร และ อุปกรณ์ที่ ต้องใช้ประกอบ การทำงาน มีอะไร บ้าง เรามาดูกันครับ

กระดานอัจฉริยะ คือ อะไร เปรียบเสมือน จอรับภาพขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถที่ จะสัมผัสได้ โดยตรงที่ตัวกระดานได้เลย การทำงานจะคล้าย ๆ กับ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ ซึ่งสามารถสัมผัสได้โดยตรงที่ตัวกระดาน นะครับ ในปัจจุบันนี้ ต้องยอมรับว่า กระดาน แบบใหม่นี้ ได้ มีการนำเข้ามาใช้งานกัน อย่างแพร่หลายแล้ว ซึ่งก็จะมีหลายยี่ห้อ หลายเทคโนโลยี การทำงานของกระดานอัจฉริยะ หรือ Interactive White Board (IWB) นั่นจะต้อง มีอุปกรณ์ ต่าง ๆ ประกอบ การทำงาน ดัง ต่อไปนี้

สารบัญ

กระดานอัจฉริยะ คือ อะไร อุปกรณ์ที่ต้องใช้ร่วมกับกระดาน มีอะไรบ้าง

กระดานอัจฉริยะ คือ
อุปกรณ์ที่ต้องใช้งานร่วมกับ กระดานอัจฉริยะ
  • กระดานอัจฉริยะ ( Interactive White Board )
  • โปรเจคเตอร์ ( Projector )
  • คอมพิวเตอร์ ( Computer )
  • โปรแกรมกระดานอัจฉริยะ (software)

อุปกรณ์ข้างต้น จะต้องใช้งานร่วมกันเสมอ จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งใดไป มิได้โดยเด็ดขาด ไม่งั้นการทำงานก็จะไม่่สมบูรณ์

ก่อนการใช้ งานกระดาน ก็จะต้องทำการเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

  1. ทำการเชื่อมต่อสาย USB จากตัวกระดานอัจฉริยะ ไป ที่เครื่องคอมพิวเตอร์
  2. ทำการเชื่อมต่อสายสัญญาณ VGA หรือ สายสัญญาณ HDMI ไปที่ เครื่องโปรเจคเตอร์
  3. ทำการติดตั้ง โปรแกรม สำหรับ กระดาน

การทำงานในส่วนของโปรแกรมกระดานอัจฉริยะ

เมื่อทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เราก็จะสามารถ ใช้งานกระดาน ได้แล้วครับ โดยก่อนเริ่มทำงาน เราจะต้องทำการ Caribrate ตัวกระดาน ก่อนครับ หรือ ตั้งค่าความแม่นยำ ในการสัมผัส

การตั้งค่าความแม่นยำของกระดาน (calibration of inter active white board)

หลังจาก ตั้งค่าความแม่นยำ การสัมผัสของ กระดาน แล้ว เราสามารถ ก็จะสามารถควบคุม หน้า จอคอมพิวเตอร์ได้ โดยใช้ ปากกา, นิ้วมือ หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ สัมผัสไปที่ กระดานอัจฉริยะ (Interactive White Board) ได้โดยตรง ซึ่งจะอำนวยความสะดวก ให้กับ ผู้ใช้งาน คือไม่ต้องเดินไปที่คอมพิวเตอร์ เพื่อที่ จะเลื่อนเมาส์ เพื่อคลิ๊ก หรือ พิมพ์ โดยมีโปรแกรม ของกระดาน ทำหน้าที่ ในการนำเสนอ ซึ่งในส่วนของโปรแกรม ของกระดาน นั้นสามารถ แบ่งการทำงานออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้

โปรแกรมใน กระดานอัจฉริยะ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้

ส่วนที่ 1 โปรแกรม ในส่วนของระบบปฏิบัติการ ( Operating System ) ชนิดต่าง ๆ ในที่นี้ จะขอยกตัวอย่างเป็น ระบบปฏิบัติการวินโดส์ window operating system ซึ่งในการทำงานของกระดาน จะสามารถสัมผัสไปที่ตัวกระดานได้เลยโดยใช้ นิ้วมือ หรือ อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ วิธีการใช้งานก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละยี่ห้อ

ส่วนที่ 2 คือ ในส่วนของ หน้าจอไวท์บอร์ด ซึ่งในส่วนนี้ จะเปรียบเหมือนกระดานดำ หรือกระดานไวท์บอร์ด นั่นเองต่างกันตรงที่ กระดานดำ หรือ กระดานไวท์บอร์ดนั่น จะต้องใช้ชอร์ค หรือ ปากกาเมจิก ในการเขียน และไม่สามารถที่ จะบันทึกสิ่งที่เขียนเอาไว้ ในรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์ได้ ตรงจุดนี้เองซึ่งเป็นข้อดีของกระดาน เพราะว่าสามารถที่ จะใช้นิ้ว หรือ ปากกา ในการเขียนได้ แล้วยังสามารถที่จะบันทึก สิ่งที่เราเขียน ลงไป เก็บไว้ ที่คอมพิวเตอร์ได้เลย นอกจากนั้น กระดานบางยี่ห้อ ยังสามารถ ที่ จะแปลงตัวเขียน ให้เป็นตัวพิมพ์ ได้ทันที และยังสามารถที่ จะบันทึกเสียงได้อีกด้วย พร้อม ทั้งยังมีฟังก์ชั่น เครื่องมือ ที่ใช้ใน การเรียนการสอน หรือ การประชุม โดยรุ่นใหม่ ๆ นั้น สามารถที่ เขียน ให้แสดงข้อความ หรือ ตอบโต้กันผ่านทาง ระบบเครื่อข่าย และ สามารถเชื่อมต่อ กับ โทรศัพท์ หรือ แท็บเล็ต ได้อีกด้วย ประโยชน์ของกระดานอัจฉริยะ

เทคโนโลยี กระดานอัจฉริยะ ( Technology Interactive White Board)

1.เทคโนโลยี กระดานอัจฉริยะ แบบอิเล็กโตรแม๊กนิติก ( Electromagnetic Interactive White Board)

เป็นเทคโนโลยี ที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในการทำงาน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้น สามารถที่จะเดินทางผ่านอากาศหรือว่าฉนวนต่าง ๆ ได้โดย หลักการทำงานของมัน คือ ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่าน มาหา ตัวรับ ซึ่งตัวรับ จะเรียกว่า Coil coating เมื่อ นำปากกา เข้าไปใกล้ Coil coating เจ้าตัวขดลวดนี้ จะรับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากปากกา แล้ว นำไปทำ การคำนวน จุดส่งต่อ ไปยัง คอมพิวเตอร์

eq8gu4

ข้อดีของเทคโนโลยีเทคโนโลยี กระดานอัจฉริยะ แบบ อิเล็กโตรแม๊กนิติก ( Electromagnetic Interactive White Board)

  1. ให้การสัมผัสมีความแม่นยำ
  2. ตอบสนองได้รวดเร็ว
  3. เหมาะสำหรับ คนที่เขียนกระดาน แล้วมือต้องติดกับตัวกระดานด้วย ดังรูปครับ
rzrwnp

จากรูป จะเห็นว่า จากรูปซ้าย และ ขวา แสดง วิธีการเขียน ถ้าเขียนบน กระดาน แบบอิเล็กโตรแม๊กนีติก จะไม่มีผลต่อการเขียน เนื่องจาก รับสัญญาณ จากปากกาอย่างเดียว เท่านั้น

ข้อด้อย ของเทคโนโลยีเทคโนโลยี กระดานอัจฉริยะ แบบ อิเล็กโตรแม๊กนิติก ( Electromagnetic Interactive White Board)

  1. ต้องใช้ปากกา เฉพาะในการสัมผัส หรือ เขียนกับกระดานเท่านั้น ไม่สามารถ ใช้วัสดุอื่น ในการสัมผัส หรือ เขียนแทนปากกาเฉพาะได้ ถ้าหายต้องซื้อใหม่อย่างเดียว
  2. ปากกาเฉพาะ มีอายุการใช้งาน ถ้าใช้งานนาน ๆ ต้องมีการเปลี่ยนปากกา
  3. ต้องมี ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง โดยตรงกับ ตัวกระดาน

2.เทคโนโลยี กระดานอัจฉริยะ แบบอินฟราเรด (Infrared Interactive White Board)

เป็นเทคโนโลยี ที่ใช้ คลื่นอินฟราเรด ในการรับจุดตัด โดยจะมีตัวส่งคลื่นอินฟราเรด และตัวรับคลื่นอินฟราเรด ทั้ง 4 ด้าน ของตัวกระดาน ส่งสัญญาณในแนวตั้ง และแนวนอน ตัดกันเป็นจุด เมื่อมีวัตถุเข้าไปสัมผัสผ่าน คลื่นอินฟราเรด ก็จะทำให้เกิด จุดอับสัญญาณ ขึ้น ทำให้คอมพิวเตอร์ รู้ว่า จุดที่ คุณสัมผัส คือจุดไหน

kmbttv
ข้อดีของ กระดานอัจฉริยะ แบบเทคโนโลยีอินฟราเรด (Infrared Interactive White Board)
  1. มีความเที่ยงตรง และ แม่นยำสูง
  2. มีการตอบสนอง ที่รวดเร็ว
  3. ไม่จำเป็น ต้องใช้ปากกาเฉพาะ ในการสัมผัส หรือเขียน เพราะสามารถที่จะใช้นิ้วมือ หรือ สิ่งต่าง ๆ ในการสัมผัส หรือ เขียนที่ กระดานได้
  4. ตัวกระดาน สามารถรับแรงกระแทก ได้ในระดับดี หรือ กระดานทะลุ ก็สามารถเขียน หรือใช้งานต่อได้
  5. ดูแลรักษาง่าย
  6. ไม่จำเป็น ต้องต่อสายไฟ โดยตรง กับ ตัวกระดาน เพราะตัวกระดาน จะใช้เพียงแค่สาย USB ใน การเชื่อมต่อ
ข้อด้อยของ กระดานอัจฉริยะ แบบเทคโนโลยีอินฟราเรด (Infrared Interactive White Board)
  1. เขียนด้วยปากกา ไม่ค่อยสะดวก เนื่องจาก เวลาเขียน ต้องยกมือไม่ให้ติด กับตัวกระดาน เนื่องจากว่าระบบอินฟราเรด จะอ่านค่าเป็นอย่างอื่นไปครับ แต่ถ้าถนัดแบบไม่ต้องให้มือไปสัมผัส กับตัวกระดานข้อนี้ก็จะไม่ถือว่าเป็นข้อด้อยครับ ดังรูป
h68ami

3.เทคโนโลยี กระดานอัจฉริยะ แบบดีวีทีที ( DVTT Interactive White Board )

เทคโนโลยี แบบดีวีทีที นั้นจะ ประกอบไป ด้วยที่ส่งสัญญาณอินฟราเรด และ อุปกรณ์แปลงสัญญาณแสงให้เป็นสัญญาณอนาล็อค และสัญญาณอนาล็อค ก็จะแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลอีกที ในที่นี้เรียกว่า (CCD = Charge Couple Device Memory) ซึ่งส่วนใหญ่ จะติดตั้งอยู่ด้านบนของตัวกระดาน และจะมีฟิล์มติด อยู่ที่ขอบของ กระดาน ทั้ง สาม ด้าน ซึ่ง การทำงานของ เทคโนโลยี แบบ DVTT นั้น จะส่งค่าของคลื่นอินฟราเรด ไปที่ ขอบของ กระดาน และ ถ้าไม่มีสิ่งใดมาขวางคลื่นอินฟราเรด เจ้าตัว CCD นั้นก็ได้รับสัญญาณสัญญาณที่ปกติ แต่ถ้ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาขวาง คลื่นอินฟราเรดแล้วนั้น เจ้าตัวที่เรียกว่า CCD ที่อยู่ทั้ง 2 มุมของ กระดาน นั้นก็จะเริ่มทำงาน และ ส่งสัญญาณ ไปที่ ตัวคอมพิวเตอร์ เพื่อคำนวน และค้นหาตำแหน่ง ของจุดอับของสัญญาณ นั้นต่อไป

ข้อดีของกระดานอัจฉริยะ แบบ DVTT ( Technology DVTT Interactive White Board)
  • กำหนด จุดได้ แม่นยำ และ เที่ยงตรง
  • ตอบสนองได้เร็ว
  • สามารถสัมผัสกระดาน ได้มากกว่า 1 จุด และ สามารถสัมผัสได้ พร้อมกัน หลาย ๆ ตำแหน่ง
  • ไม่จำเป็น ต้องใช้ ปากกาเฉพาะ สามารถ ใช้วัสดุ อุปกรณ์อะไร ก็ได้ในการสัมผัส
  • ตัวกระดาน ทนทาน ต่อ แรงกระแทก
ข้อด้อยของ กระดานอัจฉริยะ แบบ DVTT (Technology DVTT Interactive White Board)
  1. มีราคา ที่สูง อยู่ ในปัจจุบัน
  2. เขียนด้วย ปากกาไม่ค่อยสะดวก เนื่องจาก เวลาเขียน ต้องยกมือ ไม่ให้ติด กับ ตัวกระดาน เนื่องจากว่าระบบอินฟราเรด จะอ่านค่า เป็นอย่างอื่นไปครับ แต่ถ้าถนัดแบบ ไม่ต้องให้ มือไปสัมผัส กับตัวกระดานข้อนี้ ก็จะไม่ถือว่า เป็นข้อด้อยครับ ดังรูป

คำถาม “แล้วจะเลือกซื้อ กระดานอัจฉริยะ แบบไหนดี”

อันนี้ อยู่ที่ ความพึงพอใจ และสถานที่ ของการใช้งาน เป็นหลักครับ จากประสบการณ์ บางคนชอบ แบบอิเล็กโตรแม็กนีติก เพราะว่าใช้ปากกาเขียน โดยที่มือ ของผู้เขียนสามารถที่ จะสัมผัสกับตัวกระดานได้ แต่บางคนชอบใช้แบบอินฟราเรด เนื่องจากว่า สะดวก และ ไม่ต้องกังวล เรื่องอุปกรณ์ ในการเขียน แต่บางคนชอบที่ซอฟแวร์ ของ กระดานอัจฉริยะ เพราะว่า สามารถใช้งานได้ง่าย และ สะดวกกว่าซอฟแวร์ ของกระดานแบบอื่น เป็นต้นครับ ความสามารถ ในการทำงานที่ต่างกัน ไปขึ้นอยู่กับ การในไปใช้ งานใน แต่ละส่วนครับ ว่ากระดานอัจฉริยะ แบบไหน จะตอบโจทย์ของ แต่คนได้ มากกว่ากัน ไม่แน่ครับในอนาคต อาจจะมีกระดานอัจฉริยะ ที่รวมข้อดี ของแต่ละ แบบมารวมกัน ไว้ก็เป็นไปได้ครับ

ALL Educare TEAM