บริการติดตั้งระบบเน็ตเวิร์ค (์NETWORK) LAN, WIFI
- บริการออกแบบ ระบบสาย LAN ในบ้าน อาคารสำนักงาน ห้องสัมมนา ร้านอาหาร โรงแรม อพาร์ทเม้นท์ ฯลฯ
- บริการแก้ปัญหาระบบสาย LAN สายขาด ชำรุด OUTLET ชำรุด ด้วยอุปกรณ์ทดสอบที่ได้มาตรฐาน
- บริการติดตั้งอุปกรณ์ ROUTER, SWITCH, GATEWAY, ACCESPOINT
- บริการออกแบบ , บริการแก้ปัญหา ระบบ WIFI
- บริการจำหน่าย อุปกรณ์ และติดตั้ง โดยใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับการใช้งาน
ระบบ LINK WIFI บริการติดตั้งระบบเน็ตเวิร์ค (NETWORK)
บริการออกแบบระบบ LINK WIFI ระยะไกลเพื่อนำไปเชื่อมต่อกับระบบกล้องวงจรปิด หรือใช้งานอินเตอร์เน็ตที่ไม่สามารถเดิน ระบบสายได้ อาทิเช่น เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตและ SERVER ระหว่าง 2 ออฟฟิศที่อยู่ตรงข้ามถนน หรือยิงสัญญาณ ระยะไกลเพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตหรือกล้องวงจรปิด
ระบบ 4G ROUTER VPN บริการติดตั้งระบบเน็ตเวิร์ค (NETWORK)
- บริการออกแบบระบบ 4G ROUTER VPN เพื่อใช้งานในออฟฟิศขนาดเล็ก ไซต์งาน ฯลฯ หรือเพื่อเชื่อมต่อกับสำนักงานใหญ่
- บริการออกแบบและติดตั้งระบบ IT Security ทั้ง VLAN, FIREWALL และ VPN
- จัดจำหน่ายอุปกรณ์ VLAN, FIREWALL, VPN
- ให้คำแนะนำปรึกษาการใช้งาน และเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะกับการใช้งานกับลูกค้า เพื่อนำอุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในระบบได้หลากหลาย
ระบบ WORK FORM HOME ผ่าน VPN บริการติดตั้งระบบเน็ตเวิร์ค (NETWORK)
- ระบบ VPN เชื่อมต่อระหว่างสาขาเพื่อใช้งานระบบหลายๆอย่าง เช่น ระบบโปรแกรมภายในองค์กร , ระบบกล้อง วงจรปิด , ระบบแชร์ไฟล์เอกสาร รูป วีดีโอ , ระบบ HR ดึงข้อมูลการเข้าออกสาขา การลงเวลาทำงาน
- ระบบ VLAN เพื่อแก้ปัญหาระบบ NETWORK ที่มีอุปกรณ์เป็นจำนวนมากทำให้มีปัญหาการใช้งานต่างๆเกิด การ Broadcast ในระบบ หรือ IP ไม่พอใช้งาน
- ระบบ FIREWALL เป็นการบริหารจัดการอุปกรณ์ภายในระบบ และสร้างกำแพงป้องกัน และกำหนดการทำงานของแต่ละเครื่องที่ออกอินเตอร์เน็ต ทุกบริการด้านระบบเน็ตเวิร์คของเราให้บริการโดยทีมงานที่มีประสบการณ์ด้าน IT มามากกว่า 10 ปี ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลระบบเน็ตเวิร์คขององค์กรชั้นนำมากมายหลายแห่ง จึงมั่นใจได้ว่างานระบบเน็ตเวิร์คของเราจะเป็นงานที่มีคุณภาพ และตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าได้อย่างแน่นอน
การติดตั้ง LAN (Local Area Network) ในพื้นที่นั้นมีประโยชน์มากมายสำหรับธุรกิจ บ้านเรือน และสถาบันการศึกษา ต่อไปนี้คือประโยชน์หลักบางประการ:
- การสื่อสารความเร็วสูง
LAN ให้ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่เร็วกว่าเมื่อเทียบกับการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถแบ่งปันไฟล์ได้อย่างราบรื่นและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในเครือข่าย - การแบ่งปันทรัพยากรแบบรวมศูนย์
การแบ่งปันไฟล์: แบ่งปันไฟล์ เอกสาร และมัลติมีเดียได้อย่างง่ายดายผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก
การแบ่งปันเครื่องพิมพ์และอุปกรณ์ต่อพ่วง: เชื่อมต่อและแชร์เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ระหว่างผู้ใช้ ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวก - ความปลอดภัยที่ปรับปรุงแล้ว
ข้อมูลที่ส่งภายใน LAN ในพื้นที่นั้นจะยังคงอยู่ในเครือข่าย ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์จากภายนอก
ผู้ดูแลระบบไอทีสามารถบังคับใช้นโยบายด้านความปลอดภัย เช่น ไฟร์วอลล์และการจำกัดการเข้าถึง เพื่อปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน - ประสิทธิภาพด้านต้นทุน
ขจัดความจำเป็นในการใช้บริการคลาวด์ภายนอกสำหรับการแชร์ไฟล์และการสื่อสารภายใน
ลดการใช้แบนด์วิดท์อินเทอร์เน็ต เนื่องจากการส่งข้อมูลเกิดขึ้นภายในพื้นที่ 5. ความน่าเชื่อถือ
LAN ในพื้นที่มีแนวโน้มที่จะเกิดการหยุดชะงักจากภายนอก เช่น อินเทอร์เน็ตขัดข้องน้อยลง ทำให้การสื่อสารและการแบ่งปันทรัพยากรมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น - ความสามารถในการปรับขนาด
LAN มีความยืดหยุ่นและสามารถขยายได้อย่างง่ายดายเพื่อรองรับอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้นเมื่อองค์กรเติบโตขึ้น - รองรับเซิร์ฟเวอร์ในพื้นที่
โฮสต์แอปพลิเคชันในพื้นที่ เว็บไซต์ และเซิร์ฟเวอร์สำหรับใช้งานภายใน ลดการพึ่งพาบริการโฮสติ้งภายนอก - การทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์
รองรับเครื่องมือสำหรับการสื่อสารและการทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์ เช่น VoIP การประชุมทางวิดีโอ และระบบจัดการโครงการที่ใช้ร่วมกัน - ความสามารถในการปรับแต่ง
ให้การควบคุมเต็มรูปแบบสำหรับการกำหนดค่าเครือข่าย ทำให้สามารถปรับแต่งให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะได้ - เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
การเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็วขึ้นและทรัพยากรที่รวมศูนย์พร้อมใช้งานช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของผู้ใช้ - ความหน่วงต่ำ
LAN ให้ความหน่วงต่ำเมื่อเทียบกับการพึ่งพาเครือข่ายพื้นที่กว้างหรือบริการคลาวด์ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์ เช่น การเล่นเกม การสตรีม และการประชุมทางวิดีโอ ตัวอย่างกรณีการใช้งาน
บ้าน: การแชร์ไฟล์สื่อ เครื่องพิมพ์ และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตระหว่างอุปกรณ์ของครอบครัว
ธุรกิจ: เวิร์กโฟลว์แบบร่วมมือกัน การสำรองข้อมูลแบบรวมศูนย์ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในที่ปลอดภัย
โรงเรียน: การแชร์ทรัพยากรด้านการศึกษาและอำนวยความสะดวกให้กับโครงการกลุ่มต่างๆ บนอุปกรณ์ต่างๆ ในมหาวิทยาลัย
คุณต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตั้งค่า LAN หรือคำแนะนำด้านฮาร์ดแวร์เฉพาะหรือไม่
Log File กับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560
เมื่อคนพูดถึงพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 หรือที่มักเรียกสั้น ๆ ว่า พ.ร.บ.คอมฯ 2560 โดยทั่วไปมักนึกถึงความผิดในเรื่องของการโพสต์หมิ่นประมาท การแชร์ข้อมูลอันเป็นเท็จ การฝากร้านใน IG หรือ Facebook หรือการส่งอีเมลขายสินค้าหรือบริการ [3] ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว แต่นอกเหนือจากนั้น พ.ร.บ.คอมฯ 2560 ยังมีเนื้อหาที่ครอบคลุมเรื่องพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีเนื้อหาครอบคลุมไปถึงส่วนของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น ร้านอาหาร โรงแรม หน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตกับประชาชนและพนักงาน โดยมีสาระสำคัญอยู่ตรงที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านั้นจะต้องจัดเก็บ Log File ให้เป็นไปตามมาตรฐาน พ.ร.บ.คอมฯ 2560 บริการติดตั้งระบบเน็ตเวิร์ค (NETWORK)
เนื้อหาของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 แบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ 1) ส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป หมายรวมถึงสมาร์ตโฟน โน้ตบุ๊ก และแทบเล็ต และ 2) ส่วนที่เกี่ยวของกับผู้ให้บริการ ซึ่งนอกจากจะหมายถึงองค์กรหรือหน่วยงานที่ติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตให้แก่พนักงานแล้ว ยังครอบคลุมถึงส่วนของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลอื่นด้วย เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และร้านกาแฟ เป็นต้น ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีบุคคลกระทำผิด พ.ร.บ.คอมฯ
เจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสืบหาหลักฐานกับผู้ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งตรงจุดนี้เองที่ พ.ร.บ. คอมฯ ระบุว่า หน้าที่การเก็บหลักฐานนั้นเป็นของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ต้องเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (log file) เพื่อเป็นหลักฐานในการส่งมอบให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งได้ระบุไว้ในมาตรา 26 ดังนี้
“ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินกว่าเก้าสิบวันแต่ไม่เกินสองปีเป็นกรณีเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้”
นอกจากนี้แล้ว การเก็บข้อมูล Log File ยังต้องมีการจัดเก็บอย่างถูกวิธี เนื่องจาก Log File มีการเก็บข้อมูลการเข้าออกใช้งานอินเทอร์เน็ตของทุกคนในองค์กร จึงมีความจำเป็นที่ต้องสามารถระบุให้ได้ว่าใครใช้เครื่องไหน ใช้งานอย่างไร และใช้งานเมื่อไหร่ เมื่อเวลาที่มีการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อจะใช้ข้อมูลจาก Log File เป็นหลักฐานหาผู้กระทำผิด แต่เจ้าหน้าที่กลับพบว่า Log File จัดเก็บแบบไม่ถูกวิธีการหรือไม่ถูกต้อง ตามกฎหมายจะถือว่าผู้ให้บริการรู้เห็นเป็นใจและจงใจปิดบังผู้กระทำความผิด โดยจะต้องระวางโทษเท่ากับผู้กระทำผิด รวมทั้งหากเจ้าหน้าที่รัฐตรวจสอบแล้วพบว่า ผู้ใช้ที่กระทำความผิดใช้บริการอินเทอร์เน็ตจากองค์กร แล้วองค์กรไม่สามารถระบุคนทำความผิดได้ คนที่ต้องได้รับโทษตามกฎหมายคือเจ้าของหรือคณะกรรมการบริหารของบริษัท ซึ่งกฎหมายได้ระบุไว้ว่า
“ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด”
ตามข้อมูลข้างต้น ด้วยโทษที่ระบุครอบคลุมทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต องค์กรหรือหน่วยงานจึงจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ให้ถี่ถ้วนและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด บริการติดตั้งระบบเน็ตเวิร์ค (NETWORK)
หน้าตาข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log file) เป็นแบบไหน
ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log file) ที่ต้องจัดเก็บ บริการติดตั้งระบบเน็ตเวิร์ค (NETWORK)
- ข้อมูลที่ระบุตัวบุคคลที่ใช้งาน เช่น ชื่อ-นามสกุล หมายเลขบัตรประชาชน User-ID เป็นต้น
- ข้อมูลระบุวันเวลาที่ใช้งาน
- ข้อมูล IP Address
- อื่น ๆ (ดูเพิ่มเติมตามประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log file)
การจัดเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log file) จะจัดเก็บตามรูปแบบการให้บริการ โดยส่วนใหญ่การให้บริการอินเทอร์เน็ตจัดเก็บแบบ ACCESS LOGS หรือ Logs เหตุการณ์การเข้าถึงเครือข่าย ประเภทนี้สำคัญมาก เพราะทุกองค์กรหรือผู้ให้บริการอย่างน้อยจะต้องมี Logs ประเภทนี้เสมอ ซึ่งจะเกิดจากที่ผู้ใช้หรือ users ทำการเชื่อมต่อเข้ามายังเครือข่ายขององค์กร จาก WiFi หรือผ่านสาย Lan ต้องทราบว่าอุปกรณ์ของผู้ใช้นั้นได้รับ IP อะไรหรือแม้กระทั่ง Username อะไร เพื่อให้ทราบเหตุการณ์เมื่อเข้าเว็บไซต์หรือใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยประเภทนี้จะต้องประกอบด้วยข้อมูลเหล่านี้
- Timestamp
- Source IP Address
- Destination IP
- Destination Port หรือ Protocol Name
กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) เป็นพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้เราทราบ และ/หรือได้รับความยินยอมจากเราในฐานะเจ้าของข้อมูลก่อน
ในปัจจุบันบริษัทหรือนักการตลาดอาจได้รับหรือเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ของลูกค้าหรือผู้ใช้งานได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากการสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ การทำธุรกรรมผ่าน Mobile-Banking การขอเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งและ GPS บนมือถือ หรือแม้แต่การเก็บคุกกี้จากการใช้บริการเว็บไซต์ต่าง ๆ
ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการสร้างกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act: PDPA) หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อให้บริษัท พนักงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งถ้าบริษัทเก็บรวบรวมข้อมูลทันที โดยไม่ได้มีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้ใช้งาน และ/หรือรวมถึงไม่ได้มีการขอความยินยอมก่อนสำหรับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องมีการขอความยินยอม จะกลายเป็นการกรณีที่บริษัทไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม PDPA และอาจมีความผิดได้
ข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของ PDPA มีอะไรบ้าง?
เมื่อเราเข้าใจว่า PDPA คืออะไร? ทีนี้เราก็มารู้จักกับความหมายและประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลกัน ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) เป็นข้อมูลที่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลที่เป็นบุคคลธรรมดาคนๆนึงได้ ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างข้อมูล
ส่วนบุคคลทั่วไป
• ชื่อ-นามสกุล
• เบอร์โทรศัพท์ อีเมลส่วนตัว ที่อยู่ปัจจุบัน
• เลขบัตรประชาชน เลขหนังสือเดินทาง เลขใบอนุญาตขับขี่
• ข้อมูลทางการศึกษา ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลทางการแพทย์
• ทะเบียนรถยนต์ โฉนดที่ดิน ทะเบียนบ้าน
• วันเดือนปีเกิด สัญชาติ น้ำหนักส่วนสูง
• ข้อมูลบนอื่น ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น Username /password, Cookies IP address, GPS Location
นอกจากเราจะต้องรู้จักกับข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปแล้ว เรายังต้องรู้จักและระมัดระวังการใช้ข้อมูลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) มากเป็นพิเศษ เพราะเป็นข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนและอาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งในแง่ของการทำงาน สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะอาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติได้ PDPA จึงกำหนดโทษที่หนักขึ้นหากใช้ข้อมูลนั้นไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจรวมถึงโทษอาญา ที่กรรมการต้องติดคุก
ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว คือข้อมูลดังต่อไปนี้
• เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์
• ความคิดเห็นทางการเมือง
• ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา
• พฤติกรรมทางเพศ
• ประวัติอาชญากรรม
• ข้อมูลด้านสุขภาพ ความพิการ เช่น โรคประจำตัว การฉีดวัคซีน ใบรับรองแพทย์• ข้อมูลสหภาพแรงงาน
• ข้อมูลพันธุกรรม
• ข้อมูลชีวภาพ เช่น ลายนิ้วมือ แบบจำลองใบหน้า ข้อมูลม่านตา